เมนู

พระพุทธฎีกาโปรดว่า ธรรมดาบรรพชิตรู้ว่ากิจสิ่งไรจะให้ทุกข์ ก็พึงพากเพียรให้
สำเร็จกิจเสียแต่เดิม อย่าดูเยี่ยงชาวเกวียนที่ทิ้งทางเก่าเสีย เข็นไปทางใหม่ไม่เสมอ เกวียนก็หัก
เพลาก็หัก ตัวก็ซบเซาอยู่ ดุจพระโยคาวจรภิกษุไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไร จึงให้เร่งเพียรไว้แต่เดิม
พระเจ้ากรุงมิลินท์ได้ทรงฟังก็โสมนัสตรัสว่า สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้าอุปมาในกาลบัดนี้
ปฏิกัจเจววายามกรณปัญหา คำรบ 5 จบเท่านี้

ปกติอัคคิโต นิรยัคคีนัง อุณหาการปัญหา ที่ 6


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่าไว้กับโยมว่า ไฟเป็นปรกตินี้ร้อนเป็นประมาณ ไฟในนรกนี้
ร้อนกล้าหาญกว่าไฟในมนุษย์ อนึ่งเล่า มาตาว่าบุคคลจะเอาก้อนศิลาอันน้อยใหญ่ใส่ลงไปใน
เพลิงอันเป็นปกตินี้วันยังค่ำ น วิลิยํ คจฺฉติ ก็มิได้ยับย่อยไป บุคคลจะเอาศิลาใหญ่ประมาณ
เท่ากูฏาคารปราสาทใส่เข่าไปในไฟนรกนั้นไม่ทันถึงวัน แต่ขณะเดียวก็ย่อมไป น สทฺทหามิ
โยมจะได้เชื่อคำคำนี้หามิได้ ด้วยสัตว์ในนรกเพลิงไหม้อยู่ถึงพันปีก็มิได้ยับย่อมไป เหตุดังนี้
โยมจะเชื่อก็หามิได้
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า กึ มญฺญสิ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร พระราชสมภารสำคัญอย่างไร บพิตรพระราชสมภารดำริเข้าพระทัยบ้างหรือไม่ว่า
สัตว์ทั้งหลายคือไก่และนกยูงมังกรปลาฉนากปลาฉลามและเต่า สัตว์เหล่านี้กินกรวดและก้อน
ศิลาละเอียดและหยาบ บพิตรได้ยินเขาเล่าบ้างหรือไม่
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า เออ โยมได้ยินเขาว่าอยู่ นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรถามอีกเล่าว่า บพิตรพระราชสมภารเข้าพระทัยหรือไม่ว่า
กรวดหินที่สัตว์เหล่านั้นกินตกเข้าไปถายในลำไส้นั้นจะย่อยยับเป็นคูถไปหรือไม่เล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสรับคำไปว่า เออ พระผู้เป็นเจ้า ก้อนกรวดก้อนหินที่
สัตว์กินเข้าไปถึงภายในไส้แล้วก็ย่อยยับไป
พระนาคเสนถามว่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สัตว์ที่ปฏิสนธิในครรภ์แห่งสัตว์
ทั้งหลายเหล่านี้จะย่อมยับไปด้วยหรือประการใด

พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ใช่กระนั้น นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนซักว่า เหตุอย่างไรเล่า พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสมีโองการแก้ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
กมฺมาธิคหิเตน กายแห่งสัตว์ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มิได้ย่อยยับไป อาศัยด้วยกรรมรักษาไว้
โยมเข้าใจกระนี้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ฉันใดก็ดี สัตว์นรกนี้กรรมรักษาไว้เหมือนกัน ถึงไหม้อยู่
ในนรกมากกว่าพันปี ตายแล้วเกิดเล่าในนรกนั้นก็มิได้ย่อยยับสูญหายไว้ เหตุกรรมรักษาไว้
สมด้วยพระพุทธฎีกาโปรดพระสัทธรรมเทศนาไว้ฉะนี้ว่า โส น จ ตาว กาลํ กเรยฺย ยาว น ตํ
ปาปกมฺมํ พฺยนฺตี โหตีติ
เนื้อความว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุสงฆ์ทั้งปวงผู้กลัวภัยในสงสาร
สัตว์ทั้งหลายในนรกนั้น น ตํ ปาปกมฺมํ พฺยนฺตี โหติ ยังไม่สิ้นบาปกรรมตราบใด ก็ไหม้อยู่ใน
นรกไปตราบนั้น จะได้ทำกาลกิริยาตามสูญหายไปหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้ากระทำ
อุปมาให้ยิ่งกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
เปรียบปานประดุจสัตว์ทั้งหลาย สิหินิโย คือนางราชสีห์ พฺยคฺฆินิโย คือนางเสือโคร่ง
ทีปินิโย คือนางเสือเหลืองย่อมกัดกระดูกสัตว์และเนื้อสัตว์กินกระนั้นหรือ พระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมิทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า เออกระนั้นแหละ พระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงอีกเล่าว่า ดูรานะพระราชสมภารเจ้า เมื่อกินกระดูกเข้าไปภายในลำไส้
กระดูกก็ย่อมยับกลับเป็นคูถไปกระนั้นกระไรหรือ นะพระราชสมภาร
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการรับว่า อาม ภนฺเต กระนั้นซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามไปเล่าว่า บพิตรพระราชสมภารเจ้า สัตว์ที่ปฏิสนธิในครรภ์แห่ง
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จะย่อยยับไปด้วยหรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า หามิได้
พระนาคเสนซักว่า เหตุอะไร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสแก้ไขว่า สัตว์ที่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มิได้ย่อยยับนั้น

ไซร้ด้วยกรรมรักษา ครั้นพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสวิสัชนาฉะนี้แล้ว ก็นิมนต์พระนาคเสนให้
อุปมาต่อไป
พระนาคเสนก็ตามพระทัย ถวายอุปมาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภารผู้เป็นมหิศรราช กุณฺเฑรุณิโย เปรียบประดุจสกุณชาตินางนกชื่อว่านกหัวขวานพระหมี
และเม่นย่อมกินซึ่งไม้อันกระด้างนั้นเป็นต้น
สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรจึงนิมนต์พระนาคเสนให้กระทำอุปมาอีกว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงกระทำอุปมาให้ภิยโยภาวะยิ่ง
ขึ้นไปกว่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาอุปมาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปาน
ดุจนางกษัตริย์อันสุขุมาลี นางพราหมณีอันสุขุมาลี ท่านทั้งหลายเหล่านี้ย่อมบริโภคอาหาร
อันหยาบกินมังสังอันหยาบกระนี้หรือ บพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการรับว่า กระนั้นแหละซิ พระผู้
เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามเล่าว่า เมื่อท่านเหล่านี้บริโภคอาหารเหล่านี้แล้วตกเข้าไปในไส้
อาหารนั้นก็ย่อยยับไปหรือไม่
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ย่อยยับไปซิ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถามอีกเล่าว่า กุมารกุมารีที่เกิดในครรภ์นางเหล่านี้จะย่อยยับไปด้วย
หรือประการใด
พระเจ้ากรุงมิลินท์ตรัสตอบว่า หามิได้
พระนาคเสนถามว่า เหตุอะไรเล่า
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า มิได้ย่อยยับไปด้วยกรรมให้เป็นไป
พระนาคเสนก็อุปมาอุปไมยว่า ฉันใดก็ดี สัตว์ไหม้อยู่ในนรกมากกว่าพันปี จะได้รู้ยับ
ย่อยไปหามิได้ ก็อาศัยกรรมรักษาเหมือนกัน ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรทรงฟังก็โสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ พระผู้เป็นเจ้าวิสัช-
นามานี้สมควรนักหนา ในกาลบัดนี้
ปกติอัคคิโต นิรยัคคีนัง อุณหาการปัญหา คำรบ 6 จบเท่านี้

ปฐวีสันธารกปัญหา ที่ 7


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประกอบไปด้วยปรีชา ตุมฺเห ภณเถ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาไว้
กับโยมว่า ลมรองน้ำ น้ำรองแผ่นดิน นี่แหละคำอันนี้โยมจะเชื่อหามิได้ ภายใต้ลมเป็น
อากาศเปล่าด้วยเล่า เออ น้ำจะตั้งอยู่กับอะไร
พระนาคเสนเมื่อจะวิสัชนาแก้ไข จึงเอาธมกรกตักอุทกังแล้วก็เอามือปิดปากธมกรกไว้
มิให้อุทกังไหลลงได้ ถือไว้พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ทัศนาการทอดพระเนตร จึงถวายพระพร
ว่า มหาบพิตรจงทรงสังเกตดูธมกรกนี้เถิด ลมทรงไว้ซึ่งอุทกังฉันใด ลมที่รองอุทกังอันรอง
แผ่นดินก็เหมือนกัน ขอถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากร ทรงฟังก็โสมนัสตรัสว่า กลฺโลสิ สมควรแล้ว พระผู้เป็นเจ้า
ปฐวีสันธารกปัญหา คำรบ 7 จบเท่านี้

นิโรธนิพพานปัญหา ที่ 8


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินราธิบดีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้านาคผู้เจริญ นิโรโธ อันว่านิโรธนี้หรือ ชื่อว่านิพพาน
พระนาคเสนรับพระราชโองการว่า มหาราช ขอถวายพระพร นิโรโธ อันว่านิโรธ
สมเด็จพระชิเนนทรโปรดไว้ว่านิพพาน
สมเด็จพระเจ้ามิลินทราชมีพจนารถโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้เป็นเจ้า ยังไรกระนั้นเจ้าข้า โยมให้กังขาสงสัย นิมนต์วิสันชาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรายะบพิตรพระราชสมภาร สพฺเพ พาล-
ปุถุชฺชนา
อันว่าพาลปุถุชนทั้งหลายอันเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต
ปัจจุบันกาลนี้ ย่อมมายินดีในอายตนะภายนอกภายใน คือยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพ-
พารมณ์ นิยมยกเบญจกามคุณว่าประเสริฐ ก็พากันเกิดตายว่ายเวียนอยู่ตามกระแสดโลกีย์ อัน
เป็นอายตนะภายนอกภายใน มิได้พ้นไปจากชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ มีความ